ติดต่อสอบถาม

การจัดการสารต้องห้ามตามระเบียบ RoHS V2.1, REACH

การจัดการสารต้องห้ามตามระเบียบ RoHS V2.1, REACH

วิทยากร จำนวนวัน วันที่สัมมนา ราคา/ท่าน หมายเหตุ
อ.พงศ์สิทธิ์ คำนึงธรรม 1 วัน 24/07/2025 Onsite / 4000 สมัคร 5 จ่าย 4 ณ โรงแรมแรมแบรนดท์ สุขุมวิท ซอย 18 (สถานที่อาจมีเปลี่ยนแปลง)

หลักสูตร : การจัดการสารต้องห้ามตามระเบียบ RoHS V2.1, REACH

หลักการและเหตุผล

RoHS เป็นระเบียบการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป เพื่อต้องการให้สินค้าปราศจากสารอันตราย อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับประเทศผู้ใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ตะกั่ว, ปรอท, โครเมียม+6, โพลิโบรมิเนทไบฟินิล (PBB), โพลิโบรมิเนทไดฟินิลอีเทอร์(PBDE) และ แคดเมียม และเมื่อปลาย 2558 ได้เพิ่มสารต้องห้ามอีก 4 ชนิดคือ กลุ่มPhthalates ได้แก่ DEHP, BBP, DBP และ DIBP

REACH เป็นกฎหมายแนวคิดใหม่ ที่มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการสารเคมีใน EU จากเดิมที่เป็นแบบ "Hazard-based" - มุ่งจัดการกับสารอันตรายโดยดูที่ความเป็นอันตราย (Hazard) อย่างเดียว ไปสู่ "Risk-based" ที่พิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงประกอบกัน และมุ่งบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยง โดย REACH วางกลไกเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงไว้หลายด้าน ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสินค้าประเภท "สารเคมี/เคมีภัณฑ์" แต่ก็จะมีบางส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีกลไกควบคุมสารเคมีในผลิตภัณฑ์ (Chemicals in Products: CiP)

สำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเพื่อส่งไปขายในสหภาพยุโรป ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม REACH ถือเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติตาม

ดังนั้นจึงช่วยให้ภาคธุรกิจมั่นใจได้ว่ามีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นไป อย่างถูกต้องแม่นยำ และสามารถไว้ใจได้ อันนำไปสู่ความพึงพอใจต่อตัวลูกค้า มาตรฐานการบริหารจัดการกระบวนการผลิต ปลอดสารต้องห้ามยังสามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ หรือ ISO 9001 ซึ่งองค์การกำลังดำเนินการอยู่ โดยให้มีการระบุข้อบังคับเพิ่มเติม ให้มีเอกสารแสดงขั้นตอนการทำงานสำคัญ แผนการควบคุมสารอันตราย ลด หรือยกเลิก สารอันตราย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต จึงนับได้ว่ามาตรฐานบริหารจัดการกระบวนการผลิตปลอดสารต้องห้ามจะช่วยลดความเสี่ยงจากการมีสารต้องห้าม เล็ดลอดเข้าสู่กระบวนการผลิต และยังเป็นการประเมินระบบที่ได้มาตรฐาน ทำให้ได้ระบบการบริหารจัดการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้มีความเข้าใจ ระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมและขึ้นทะเบียนสารเคมีตามระเบียบการของ RoHS v.2.1 And REACH ความเป็นอันตรายของสารต้องห้ามในปัจจุบัน

2. เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อติดตาม ตรวจสอบ ยืนยัน รับรองการปลอดสารต้องห้าม

 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องตามความต้องการของลูกค้าในอนาคต

หัวข้อการอบรม

09.00 น. บรรยายให้ความรู้

– ระเบียบปฏิบัติ EuP (Energy using Product)

– เหตุผลของที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม EU Restriction of Hazardous Substances

– ระเบียบ RoHS คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

– RoHS v2.1 เพิ่มสารต้องห้ามอะไร และบังคับใช้เมื่อไร

– คุณสมบัติของสารต้องห้าม 10 ชนิด และอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

10.45 น. การบรรยายให้ความรู้

– ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สารทดแทน

– การตรวจสอบปริมาณสารต้องห้าม

– คุณสมบัติของสารต้องห้าม 10 ชนิด และอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

– การจัดทำเอกสาร Technical ตามระบบ RoHS

12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 1 ชั่วโมง

13.00 น. การบรรยายให้ความรู้ / กิจกรรม

– การตรวจสอบปริมาณสารต้องห้าม

– ห้องปฏิบัติการทดสอบ

– วิธีการอ่านค่าผลการตรวจสอบ Test REPORT

– Workshop การอ่านผล “Test Report”

– แนวทางการควบคุมสารต้องห้ามในองค์กร Registration Evaluation and Authorization of Chemicals

14.45 น. การบรรยายให้ความรู้

– REACH คืออะไร?

– วัตถุประสงค์ของ REACHและสาระสำคัญของ REACH

– สารเคมีที่ได้รับการยกเว้นตามกฏระเบียบ REACH

– ระยะเวลาการจดทะเบียน REACH

– Evaluation, Authorization, Restriction

15.300 น. สรุปบทเรียน

– Q&A

- แบบทดสอบ

รูปแบบหลักสูตร

การบรรยาย / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 

กลุ่มผู้เข้าอบรม : หัวหน้างาน และ พนักงานที่สนใจ 

ระยะเวลา : 1 วัน เวลา 09.00-16.00น. 

หมายเหตุ สำหรับ Inhouse Training เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

ฟอร์มลงทะเบียน